วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

La petit prince






เจ้าชายน้อย (ฝรั่งเศสLe Petit Prince) เป็นนวนิยายที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของอ็องตวน เดอ แซ็งแตกซูว์เปรี นักเขียนชาวฝรั่งเศส ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1943 อ็องตวน เดอ แซ็งแตกซูว์เปรีเขียนงานเขียนชิ้นนี้ขณะพำนักอยู่ที่นิวยอร์ก เจ้าชายน้อยถือได้ว่าเป็นหนังสือขายดีติดอันดับโลก นวนิยายชุดนี้ได้รับการจัดแปลกว่า 190 ภาษาและมียอดจำหน่ายกว่า 80 ล้านเล่มทั่วโลก[1][2] ในหลายประเทศได้มีการนำเอาเนื้อเรื่องจากหนังสือไปสร้างเป็นการ์ตูนภาพยนตร์ ละครเวที อุปรากร และการแสดงรูปแบบอื่น ๆ

เนื้อเรื่องย่อ[แก้]

เจ้าชายน้อยได้ออกเดินทางเพื่อค้นหาถึงคุณค่าของมนุษย์โดยได้พบกับผู้คนมากหน้าหลากหลาย และเห็นพฤติกรรมที่ไร้คุณค่าอย่างแท้จริง จนกระทั่งมาพบกับคนจุดแสงตะเกียงที่ทำคุณประโยชน์ให้กับเพื่อนมนุษย์นี้เองที่ทำให้เจ้าชายน้อยเกิดความประทับใจ

รูปแบบวรรณกรรม[แก้]

แรกเริ่มเดิมที แซ็งแตกซูว์เปรี ผู้ประพันธ์ มีจุดประสงค์เขียนเพื่อเสียดสีสังคมเท่านั้น ทว่าเนื้อหาที่มีแง่คิดดี ๆ เหล่านี้ได้ถูกนักวิจัยจัดให้งานเขียนชิ้นนี้อยู่ในกลุ่มของวรรณกรรมเยาวชนแทนในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีข้อคิดสอดแทรกดี ๆ ที่คล้ายคลึงกับหลักพุทธธรรมด้วยเช่นกัน เช่น หลักอนิจจัง

La madeleine ,une paroisse atypique











« La Madeleine » s’impose dans le paysage parisien. Tout à la fois un quartier et une église. Au-delà de cette évidence, les subtilités apparaissent. Il y a en fait trois quartiers comme le rappelait avec justesse un magasin bien connu. Le plus ancien, autour de la rue Saint-Honoré. De l’autre côté de la rue Royale, le Faubourg du même nom. Et enfin le quartier transformé sous Haussmann entre les grands magasins et l’Opéra.
L’église : tout le monde la repère extérieurement mais tous n’y sont pas rentrés, peut-être rebutés par le caractère monumental de l’édifice. Son aspect massif et païen a été décrié dès les origines « Tome 2 de la Bourse, la bas de laine » disait Victor Hugo. La somptuosité de ses décors scandalisait Montalembert : « Le pauvre ne peut se sentir chez lui » Là aussi notre regard doit s’aiguiser. Que portent ces robustes colonnes si ce n’est un fronton qui met en exergue la fragilité humaine :

Marie-Madeleine, la pécheresse repentante de l’Evangile. 

Aujourd’hui, les bureaux ont pris le pas sur les habitations au risque d’effacer ces nuances. La majorité des personnes que l’on croise dans les rues ne résident pas sur place.
Pour répondre à cette évolution, la paroisse de la Madeleine est animée du désir d’être une présence bien visible au cœur de Paris et d’être à l’écoute de nos contemporains. On parle du socle pour qualifier les massifs de pierres qui forment l’assise de l’église. Mais ce socle est fait aussi de pierres vivantes que sont les associations attentives aux blessés de la vie comme Ozanam-MadeleineCyber-espace ou Accueil-EmploiLe Foyer de la Madeleine sert plus de trois cents déjeuners par jour à ceux qui travaillent ou passent dans le quartier ainsi qu’à des personnes défavorisées.

L’église, ouverte tous les jours, permet à près de sept cent mille visiteurs annuels de découvrir les richesses artistiques qu’elle renferme et de prendre un temps de prière ou de recueillement. La qualité musicale des liturgies et les nombreuses manifestations musicales proposées répondent à l’aspiration spirituelle de beaucoup de personnes. La présence d’un prêtre à l’accueil et aussi la journée du pardon avant Pâques offrent à des chrétiens d’ici ou d’ailleurs de réaliser, à la suite de Marie-Madeleine qu’ils sont aimés de Dieu.

Une madeleine






“มัดเดอแลน” เป็นขนมเค้กเล็ก ๆ ของแคว้น Alsace-Lorainne ทางเหนือของประเทศฝรั่งเศส La madeleine de Commercy ชื่อสุดหรูนี้น่าจะมาจากสาวรุ่นนางหนึ่งชื่อ «Madeleine Paulmier» สาวใช้ประจำตัวของภรรยาท่านมาควิส
Perrotin Baumont คาดว่าเธอมีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 18 ประมาณปี 1755 สาวเจ้าทำขนมไข่ชนิดนี้เพื่อมอบให้ดยุคท่านหนึ่งซึ่งเป็นแขกมาเยือนบ้านท่านมาควิส ต่อมาพัฒนาไปเป็นธรรมเนียมปฏิบัติประจำแคว้นนี้จวบจนปัจจุบัน กล่าวคือ เมื่อมีแขกมาเยือนบ้าน เจ้าบ้านจะต้องมอบขนม madeleine ให้ติดไม้ติดมือกลับไปเป็นของที่ระลึก

la madeleine เป็นขนมที่เกิดขึ้นในช่วงศาสนารุ่งเรือง ซึ่งผู้คนนิยมเดินทางไปแสวงบุญที่ประเทศสเปน ณ มหาวิหาร Saint-Jacques-de-Compostelle ที่นี่เอง มีหญิงสาวคนหนึ่งชื่อเดียวกับขนม ทำขนมไข่แบบนี้แจกจ่ายให้แก่ผู้แสวงบุญ เชื่อว่าขนมเค้กไข่มีรูปทรงเหมือนหอย เพราะว่าในดินแดนแห่งนี้เป็นแหล่งชุมนุมของหอยระดับเชลล์ชวนชิม คุณ ๆ น่าจะรู้จักในชื่อ หอยเซนต์ฌาร์ค หรือ coquille Saint-Jacques และหอยชื่อหรูนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของการจาริกแสวงบุญอีกด้วย เล่ากันอีกตำนานว่าตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา จวบจนก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้คนที่เดินทางด้วยรถไฟ ต่างพากันมาออกันแน่นหน้าประตูโบกี้รถไฟ เมื่อรถไฟหยุดที่สถานีเมือง Commercy เพื่อชมการแสดงน่าตื่นตาตื่นใจไม่ธรรมดาของบรรดาแม่ค้าขนม madeleine ซึ่งหิ้วตะกร้าหวายขนาดใหญ่บรรจุขนม madeleine สาว ๆ เหล่านี้สามารถหิ้วตะกร้าใบยักษ์เดินฝ่าฝูงชนจำนวนมากบนชานชาลาสถานีรถไฟพร้อมกับร้องตะโกนขายขนมสุดเสียง มองไปทางไหนก็เห็นสาว ๆ ทำแบบเดียวกัน แม้ไม่พร้อมเพรียงกันแต่เป็นลีลาและสีสันของสถานีแห่งนี้ที่ต้องไม่พลาดชม อาชีพค้าขายขนมแบบนี้หนักหนาสาหัสเอาการสำหรับสาว ๆ เหล่านี้ พวกเธอต้องขายขนมให้ได้มากที่สุดในเวลาสั้นที่สุดของการพัก ณ สถานีรถไฟแห่งนี้

สำนวน tremper sa madeleine แปลว่า จุ่มขนมมัดเดอแลน (ในเครื่องดื่มร้อน เช่น กาแฟ )   

แผ่นดินไหวเนปาล

สลดใจ...นายกฯ เนปาล คาดอาจมีผู้เสียชีวิตจากโศกนาฏกรรมแผ่นดินไหว นับหมื่นคน ระบุมีหมู่บ้านในชนบทห่างไกลอีกจำนวนมากที่พังราบเป็นหน้ากลอง แต่ทีมกู้ภัยยังไปไม่ถึง ขณะที่ยอดตัวเลขเหยื่อเคราะห์ร้ายเพิ่มกว่า 4,400 คน ยูเอ็นประเมินมีชาวเนปาลได้รับผลกระทบจากธรณีพิโรธนับ 8 ล้านคน
เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 58 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานความคืบหน้าเหตุการณ์แผ่นดินไหวสุดวิปโยค ขนาด 7.8 เขย่าเนปาล เมื่อบ่ายวันที่ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา และกรุงกาฐมาณฑุ เมืองหลวง เป็นเมืองที่ได้รับความเสียหายหนักสุด โดยขณะนี้ บรรดาทหาร เจ้าหน้าที่กู้ภัย และอาสาสมัครจำนวนมาก พยายามเร่งค้นหาผู้ประสบภัยที่อาจยังรอดชีวิตอยู่ใต้ซากปรักหักพังของอาคารบ้านเรือนว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากธรณีพิโรธ ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจนถึงวันที่ 28 เม.ย. มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นแล้วกว่า 4,400 คน ขณะที่ยังมีรายงานว่ามีชาวอินเดียเสียชีวิตจากแผ่นดินไหว อีก 72 คน และจีน 25 คน ขณะที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 8,000 คนในเนปาล และที่จีน กว่า 100 คน
ขณะที่ นายกรัฐมนตรีสุชิล คอยราลา แห่งเนปาล กล่าวให้สัมภาษณ์กับนักข่าวรอยเตอร์ ว่า ความรุนแรงของธรณีพิโรธครั้งนี้ อาจทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 10,000 คน เนื่องจากยังมีหมู่บ้านในชนบทห่างไกลอีกเป็นจำนวนมากที่ทีมกู้ภัยยังเข้าไปไม่ถึง โดยขณะนี้ รัฐบาลกำลังทำทุกอย่างเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ขณะที่มีชาวเนปาลบางส่วนเริ่มรู้สึกโมโหไม่พอใจรัฐบาลที่ให้ความช่วยเหลือล่าช้า เพราะพวกเขาขาดแคลนทั้งอาหารและน้ำดื่มจนประสบความยากลำบากอย่างมาก
ด้านองค์การสหประชาชาติได้ประเมินความเสียหายจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่เนปาลว่า ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วแถบเทือกเขาหิมาลัยนับ 8 ล้านคน โดยในจำนวนนี้ กว่า 1.4 ล้านคน ขาดแคลนอาหารและจำเป็นต้องการได้รับความช่วยเหลือด้านอาหารอย่างเร่งด่วน 
ทีมกู้ภัยจากไต้หวันเดินทางออกจากท่าอากาศยานกรุงไทเป เมื่อ 28 เม.ย. เพื่อไปช่วยผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่เนปาล
ขณะที่ สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ภัยพิบัติแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เนปาล ที่สร้างความพินาศเสียหายมหาศาลนั้น ได้มีรัฐบาลหลายประเทศส่งทีมเจ้าหน้าที่กู้ภัยไปช่วยค้นหาผู้ประสบภัย โดยทางการไต้หวันได้ส่งทีมกู้ภัย 37 คน พร้อมสิ่งของช่วยเหลือกว่า 5 ตัน ออกเดินทางไปช่วยเหลือชาวเนปาล เมื่อวันที่ 28 เม.ย. นอกจากนั้นยังมีชาวเนปาลหลายคน ซึ่งอาศัยอยู่ในอินเดีย ได้มีความรู้สึกเป็นห่วงเพื่อนร่วมชาติ ถึงกับนำอาหาร ผ้าห่ม และผ้าพันแผลจำนวนมากแบกขึ้นรถบัสโดยสารเดินทางนำไปช่วยเหลือชาวเนปาลที่ประสบภัยแผ่นดินไหว ด้วยตนเอง