วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โรคซิฟิลิส

      สำหรับโรคซิฟิลิสนี้ พบได้ราว 10-15% ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทั้งหมด และหากใครกำลังสงสัยว่า เราเป็นกลุ่มเสี่ยง หรือมีอาการของโรค ซิฟิลิส หรือไม่ มาทำความรู้จักกับเจ้าโรคนี้ไปพร้อม ๆ กันเลย

     โรคซิฟิลิส ติดต่อกันได้อย่างไร

              คนเราสามารถรับเชื้อซิฟิลิสได้ 3 ทาง คือ

               1. ทางเพศสัมพันธ์ โดยติดต่อผ่านทางเยื่อบุช่องคลอด ท่อปัสสาวะ

               2. ติดต่อผ่านการสัมผัสแผลที่มีเชื้อ โดยผ่านทางผิวหนัง เยื่อบุตา ปาก

               3. จากแม่สู่ลูก โดยหากมารดาเป็นซิฟิลิส จะถ่ายทอดโรคนี้สู่ทารกในครรภ์ได้ โดยเรียกเด็กที่เป็นซิฟิลิสจากสาเหตุนี้ว่า ซิฟิลิสแต่กำเนิด (Congenital Syphilis) จะแสดงอาการหลังคลอดได้ 3-8 สัปดาห์ และเป็นอาการเล็กน้อยมาก จนแทบไม่ทันได้สังเกต เช่น มีตุ่มผื่นขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่มาออกอาการมาก ๆ เข้าเมื่อตอนโต ซึ่งก็เข้าสู่ระยะที่สี่แล้ว หรือบางคนอาจแสดงอาการพิการออกมาให้เห็นได้ชัด

     อาการของโรคซิฟิลิส

              ซิฟิลิส ส่วนใหญ่มักพบในผู้ชาย โดยผู้ป่วยซิฟิลิสจะมีอาการหลายแบบ ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้น คือ 

               ระยะแรก Primary Syphilis

              เชื้อซิฟิลิสจะเข้าทางเยื่อบุ หรือรอยถลอก รอยแผลที่ผิวหนังซึ่งมักพบที่อวัยวะเพศชาย อัณฑะ ทวารหนัก ช่องคลอด ริมฝีปาก และมักเป็นเพียงแผลเดียว ลักษณะเป็นแผลริมแข็ง คือแผลมีขอบนูนแข็ง แต่ไม่เจ็บ และดูสะอาด ต่อมน้ำเหลืองจะโต 

              จากนั้นอีก 10-90 วัน หลังจากได้รับเชื้อจะเกิดตุ่มแดงแตกออกเป็นแผลที่อวัยวะเพศ ตรงบริเวณที่เชื้อเข้า แผลที่เห็นจะเป็นอยู่ 1-5 สัปดาห์ แล้วจะหายไปเองได้ แต่แม้แผลจะหายแล้ว ยังคงมีเชื้อซิฟิลิสในกระแสเลือดอยู่ อย่างไรก็ตาม หากผู้ได้รับเชื้อซิฟิลิสเป็นโรคเอดส์อยู่ก่อนหน้า แผลที่ปรากฎจะมีขนาดใหญ่ และกดเจ็บมาก 


    ซิฟิลิส

    อาการผื่นของ ซิฟิลิส 
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก wikipedia  

               ระยะที่ 2 Secondary Syphilis

              หากผู้ป่วยซิฟิลิสไม่ได้รับการรักษาในระยะแรก จนกระทั่งล่วงเลยมาประมาณ 6-8 สัปดาห์ ซิฟิลิสจะเข้าสู่ระยะที่สอง โดยเชื้อจะกระจายไปตามกระแสเลือด ทำให้เป็นไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามข้อ เพราะข้ออักเสบ 

              นอกจากนี้ยังปรากฎอาการสำคัญ คือ ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ มีผื่นสีแดงน้ำตาลขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอาจพบได้ทั่วตัว โดยที่ไม่คัน รวมทั้งยังอาจพบผื่นสีเทาในปาก คอ และปากมดลูก และอาจพบหูด Condylomata lata ในบริเวณที่อับชื้น เช่น รักแร้ ทวารหนัก ขาหนีบ ระยะนี้จึงอาจเรียกได้ว่า ระยะเข้าข้อ หรือออกดอก อย่างไรก็ตาม อาการในขั้นนี้จะเป็นอยู่ประมาณ 1-3 เดือนและจะหายไปได้เอง โดยอาจกลับมาเป็นซ้ำได้ใหม่ 

               ระยะที่ 3 Latent Stage หรือ ระยะแฝง 

              ระยะนี้อาจกินเวลานานหลายปีหลังจากได้รับเชื้อเลยทีเดียว และจะเป็นระยะที่ไม่มีอาการใด ๆ ของโรคปรากฎออกมา แต่อาจจะเกิดผื่นได้เหมือนในระยะที่ 2 ดังนั้นการเจาะเลือดไปตรวจเป็นทางเดียวที่จะตรวจสอบได้ว่า เป็นโรคซิฟิลิสหรือไม่ และหากสตรีที่มีเชื้อซิฟิลิสเข้าสู่ขั้นที่ 3 นี้เกิดตั้งครรภ์ เชื้อซิฟิลิสจะสามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกในครรภ์ได้

               ระยะที่ 4 Late Stage (Tertiary)

              ระยะนี้จะกินเวลา 2–30 ปี หลังได้รับเชื้อ โดยเชื้อจะเข้าไปทำลายอวัยวะต่าง ๆ ภายใน ทำให้เกิดความผิดปกติ เช่น ซิฟิลิสระบบหัวใจและหลอดเลือด ซิฟิลิสระบบประสาท อาจทำให้ตาบอด หูหนวก กระดูกหักได้ง่าย ซึ่งหากรักษาไม่ทัน จะทำให้อวัยวะต่าง ๆ ถูกทำลายจนไม่สามารถกลับเป็นปกติได้ ส่วนเด็กในครรภ์ที่ได้รับเชื้อจากมารดาก็อาจเกิดความผิดปกติ พิการ เสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์ หรือเสียชีวิตหลังคลอดได้ 

     จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น ซิฟิลิส

              การจะพิสูจน์ว่าเป็น ซิฟิลิส หรือไม่ สามารถทำโดยนำน้ำเหลืองจากแผล หรือผื่นที่ปรากฎบนตัวผู้ป่วยไปส่องกล้อง เพื่อหาตัวเชื้อโรค หรืออาจจะเจาะเลือดเพื่อตรวจหาภูมิต่อเชื้อซิฟิลิสก็ได้

     การรักษาโรคซิฟิลิส

              ผู้ป่วยโรคซิฟิลิสไม่ต้องกังวลไป เพราะหากตรวจพบเชื้อตั้งแต่ระยะต้น ๆ จะสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการรับประทานยาปฏิชีวนะ เพนนิซิลลิน เป็นเวลา 1-3 สัปดาห์ ทั้งนี้ระยะเวลาการรักษาขึ้นกับระยะของโรคที่เป็นด้วย และหากผู้ป่วยมีคู่สมรสก็ควรได้รับการรักษาคู่กัน 

              อย่างไรก็ตาม แม้จะรักษาหายแล้วต้องกลับมาตรวจซ้ำอีกในช่วงแรก ทุก ๆ 3 เดือนจนครบ 3 ปี เพราะอาจมีเชื้อหลบในแอบแฝงอยู่ และจะได้แน่ใจว่าโรคหายขาด ทั้งนี้ ระหว่างการรักษาโรคซิฟิลิส ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด งดการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่น


    ถุงยางอนามัย ป้องกัน ซิฟิลิส


     แล้วจะป้องกัน ซิฟิลิส ได้อย่างไร

              ที่ทำได้และง่ายที่สุดในการป้องกันเจ้าโรค ซิฟิลิส นี้ก็คือ ควรป้องกันด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อจะมีเพศสัมพันธ์ และไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย หากจะแต่งงานต้องจูงมือคนรักไปตรวจเลือดก่อนแต่งงาน เพื่อว่าหากพบใครเป็นโรคนี้จะได้รักษาให้หายขาดก่อน 

              นอกจากนี้ใครที่มีอาการผิดปกติ ที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นโรค ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด เพื่อจะได้รักษาโรคได้ทันท่วงที ก่อนจะสายจนเกินเยียวยา

Louis Pasteur

หลุยส์ ปาสเตอร์ผู้ประกาศสงครามกับเชื้อโรค

                    ในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ.1860 หลุยส์ ปาสเตอร์ นักเคมีชาวฝรั่งเศส เดินทางไปไต่ภูเขาแอลป์ บริเวณใกล้ชาโมนีซ์ เขานำขวดปิดผนึกไปด้วยกว่า 30 ใบ ในขวดมีน้ำส่าสกัด กับน้ำตาล ก่อนหน้านี้ ปาสเตอร์ เคยทดลองให้เห็นมาแล้วว่า ถ้าเปิดขวดทิ้งไว้กลางอากาศ ที่เต็มไปด้วยฝุ่นละออง สิ่งที่บรรจุไว้ในขวด จะมีเชื้อโรคปนเปื้อน ครั้งนี้ ปาสเตอร์ขึ้นไปบนภูเขาสูง 1,500 เมตร ซึ่งมีอากาศบริสุทธิ์ปราศจากเชื้อโรค แล้วเปิดขวดให้อากาศเข้าไป จากนั้นจึงปิดผนึกอีกครั้ง เมื่อกลับมาถึงห้องทดลอง เขาก็แสดงให้เห็นว่า น้ำส่านั้นไม่บูดหรือเสีย
                  
                    การค้นพบครั้งนี้ได้นำไปใช้กำจัดเชื้อโรค ในน้ำนม เหล้าองุ่น และเบียร์ ทำให้เครื่องดื่มเหล่านี้ ปลอดภัยและน่าดื่ม จากผลของการศึกษานานแรมปีนี้เอง ปาสเตอร์ยืนยันว่า  " โรค "   ที่เกิดในของเหลวชนิดต่างๆ มาจากเชื้อแบคทีเรีย ในบรรยากาศชั้นล่างๆ ซึ่งเป็นภัยต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิต เขายังเขียนไว้ในเวลาต่อมาว่า   " ในโลกของการทดลอง โชคจะเข้าข้าง แต่จิตใจที่เตรียมพร้อมแล้วเท่านั้น "
                    ตัวของเขาก็ได้เตรียมใจไว้พร้อมแล้ว ตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ วิชาเคมีในปลายทศวรรษ 1840 ที่สถาบันวิทยาศาสตร์ เมืองสตราสบูร์ก ซึ่งอยู่ทางตะวันออก ของฝรั่งเศส เขาเขียนจดหมายถึงเพื่อนคนหนึ่งในปี ค.ศ.1851 ว่า  " ผมจวนไขความลับได้แล้ว หมอกที่บดบังจางลงทุกทีแล้ว "   อีก 6 ปีต่อมา เขาก็วิเคราะห์ถึงกระบวนการหมักเชื้อ ในแอลกฮอล์ และสรุปว่าสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋ว ซึ่งต่อมาเขาเรียกว่า  " จุลินทรีย์ "  นั้น เป็นสาเหตุให้ของเหลวบางอย่าง เช่น น้ำส้มสายชู และเหล้าองุ่น เน่าบูด
                    พระเจ้านโปเลียนที่ 3 ทรงมีรับสั่งให้ ปาสเตอร์แก้ปัญหาเรื่องเชื้อโรค ที่ทำให้เหล้าองุ่นเสื่อมคุณภาพ เหล้าองุ่นเป็นผลิตผลสำคัญอย่างหนึ่ง ของฝรั่งเศส ปาสเตอร์ได้ไปเยือนไร่องุ่นนับสิบๆ แห่ง เขาซักถามคนงาน ทดลองชิม แนะนำตัวอย่างเหล้าองุ่นต่างๆ กลับมาตรวจดู ทั้งขั้นที่ยังบ่มไม่ได้ที่ บ่มได้ที่แล้ว และขั้นที่เสื่อมคุณภาพแล้ว
                    ผลการทดสอบแสดงว่า เราอาจทำลายเชื้อโรคที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส โดยไม่มีผลต่อรสชาติของเหล้า กรรมวิธีนี้ต่อมาเรียกว่า " การฆ่าเชื้อแบบปาสเตอร์ " หรือ " การพาสเจอไรซ์ " (pasteurisation) ซึ่งปาสเตอร์นำไปใช้ทำให้นมปลอดเชื้อด้วย
                    อันที่จริง เคยมีผู้เห็นแบคทีเรีย ด้วยกล้องจุลทรรศน์เป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ 200 ปีหน้านั้น แต่ในครั้งนั้นเข้าใจผิดไปว่าจุลินทรีย์ ผลที่เกิดจากการเน่าเสีย มิใช่สาเหตุ ปาสเตอร์เป็นบุคคลแรก ที่แก้ไขให้เข้าใจกันอย่างถูกต้อง
                    ไม่นานนัก ปาสเตอร์ก็เสาะหาวิธีรักษาโรคห่า ชนิดทั้งในคน และสัตว์ และเสนอแนวคิด ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างใหญ่หลวงว่า เชื้อโรคได้ " ปรากฎตัวขึ้นอย่างลึกลับจากที่ไหนก็ไม่รู้ "   แหล่งที่มาแน่ชัดที่สืบสาวไปได้ถึง คือจากความสกปรก และฝุ่นละออง
 นอกจากจะช่วยต่อสู้โรคพิษสุนัขบ้าแล้ว ผลงานด้านวัคซีนของปาสเตอร์ ยังช่วยเบิกทางสู่วิชาแพทย์แขนง   " วิทยาภูมิคุ้มกัน " (immunology) ทุกวันนี้มีโรคที่ให้พิการ หรือถึงแก่ชีวิตประมาณ 30 ชนิด รวมทั้งโรคหัด โรคโปลิโอ และโรคคอตีบ ซึ่งป้องกันได้ ด้วยการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน
                    ในปี ค.ศ.1888 ได้มีการเปิดสถาบันปาสเตอร์ ในกรุงปารีส งานส่วนหนึ่ง คือเพื่อค้นคว้าวิจัย เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าต่อไป ต่อมาแม้อาการเส้นโลหิตแตก จะทำให้ปาสเตอร์มีสภาพกึ่งอัมพาต แต่กระนั้นเขาก็ยังดำรงตำแหน่งผู้นำของสถาบันแห่งนี้ จวบจนกระทั่งถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ.1894 ศพของเขาฝังไว้ในสุสานหินอ่อน อันสง่างามในสถาบันแห่งนั้น คำจารึกที่สุสานของตนเอง ซึ่งเขาได้ประพันธ์เตรียมเอาไว้ มีความว่า
                    " กฎที่มีตัวเราเป็นเครื่องมือ คือกฎแห่งสันติภาพ การงาน และสุขภาพนั้น ย่อม