วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประวัติวันคริสมาสต์

                                                                                คำว่า "คริสต์มาส" เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" ซึ่งพบครั้งแรกในเอกสารโบราณที่เป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038 และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas

         
เทศกาล Christmas หรือ X’Mas ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งวันที่ 25 ธันวาคมนั้นเป็นวันประสูติของพระเยซู ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์โดยพระองค์ประสูติที่เมืองเบ็ธเลเฮ็มและเติบโตที่เมืองนาซาเรท ซึ่งปัจจุบันคือประเทศอิสราเอล ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ได้บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซาร์ ออกุสตุส แห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร
           ด้านนักประวัติศาสตร์ก็มีความเห็นที่ต่างออกไปโดยได้วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยะเทพ ตั้งแต่ปี ค.ศ.274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูซึ่งเปรียบเสมือนความสว่างของโลก และเหมือนดวงจันทร์เป็นความสว่างในตอนกลางคืนแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ.330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย

          เทศกาลคริสต์มาสจึงเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซู และเป็นการฉลองความรักที่พระเจ้ามีต่อมนุษย์โลก โดยส่งบุตรชาย คือ "พระเยซู" ลงมาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่บาป และช่วยให้มนุษย์รอดพ้นจากการทำชั่วนั่นเอง ดังนั้นในวันนี้ถือเป็นวันที่มีความหมายสำคัญชาวคริสต์ทั่วโลก และมีการส่งบัตรอวยพร ให้ของขวัญ แก่กันและกัน รวมทั้งประดับประดาตกแต่งบ้านเรือนด้วยแสงไฟ และต้นคริสต์มาสอย่างสวยงาม

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

สีของพาสปอร์ต บ่งบอกอะไร

สำหรับผู้ที่ประสงค์อยากเดินทางไปต่างประเทศ  สิ่งแรกที่ทุกคนต้องมีคือ  หนังสือเดินทางหรือที่ทุกคนเรียกว่า พาสปอร์ต (passport) ซึ่งเป็นเอกสารที่ใช้แสดงความเป็นตัวท่านที่ถือเป็นสากล  ใช้ได้ทั่วโลก  และยังเป็นสมุดบันทึกการเดินทางเข้าออกประเทศต่าง ๆ อีกด้วย
หนังสือเดินทางไทย (Thai passport) เป็นหนังสือเดินทางที่ออกให้เฉพาะประชาชนไทย โดยกองหนังสือเดินทางกระทรวงการต่างประเทศ สามารถออกในประเทศไทยโดย หน่วยงานในสังกัด กองหนังสือเดินทาง กระทรวงการต่างประเทศ บางกรณีอาจจะออกได้ที่ สถานเอกอัครราชทูตในต่างประเทศ หรือสถานกงสุลไทยทั้ง 86 แห่ง

ลักษณะของพาสปอร์ต (หนังสือเดินทาง)
หนังสือเดินทางประเทศไทยสำหรับประชาชนทั่วไปรุ่นปัจจุบันจะมีสีแดงเลือดหมูโดยมีตราครุฑอยู่ตรงกลางที่ปกด้านหน้า และคำว่า “หนังสือเดินทาง ประเทศไทย” (อยู่ต่างบรรทัดกัน) อยู่ด้านบนสุด ส่วนคำว่า “THAILAND PASSPORT” (อยู่ต่างบรรทัดกัน) อยู่ใต้ตราครุฑ ด้านล่างสุดจะเป็นสัญลักษณ์ของหนังสือเดินทางที่มีข้อมูลทางชีวภาพ (biometric passport) อักษรและสัญลักษณ์ที่หน้าปกเป็นสีทอง

ประเภทของพาสปอร์ต (หนังสือเดินทาง)          หนังสือเดินทางประเทศไทยในปัจจุบันมี 4 ประเภท ดังนี้
หนังสือเดินทางธรรมดา (หน้าปกสีแดงเลือดหมู)          ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี
 หนังสือเดินทางราชการ (หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม)          หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี  ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว  โดยมีข้อกำหนดออกเฉพาะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ และบุคคลอื่นใดที่เดินทางเพื่อทำประโยชน์แก่ทางราชการตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุมัติ

 หนังสือเดินทางทูต (หน้าปกสีแดงสด)        ประเภทนี้จะมีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้
พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 2-8
บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย

 หนังสือเดินทางชั่วคราว (หน้าปกสีเขียว)          นอกจากนี้ ยังมีอีก 2 ประเภทพิเศษ คือ
หนังสือเดินทางพระ ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม
หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น

AEC คืออะไร เกี่ยวข้องกับประเทศไทยอย่างไร

AEC ย่อมาจาก  Asean Economics Community แปลว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ  การรวมตัวกันของชาติใน Asean ทั้ง 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม,กัมพูชา , สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, บรูไน เพื่อจะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งจะมีรูปแบบคล้ายๆ กับกลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจการต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากยิ่งขึ้น และในการนำเข้า – ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะมีความเสรี  ซึ่งอาจจะยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอสงวนไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า ซึ่งเรียกสินค้าชนิดนี้ว่า  สินค้าอ่อนไหว
Asean นั้น จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลอย่างจริงจัง  ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคแถบนี้เปลี่ยนไปอย่างมากอย่างที่เราคาดไม่ถึงเลยทีเดียว
AEC Blueprint (แบบพิมพ์เขียว) หรือแนวทางที่ต้องการจะให้ AEC เป็นไปคือ
1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
โดยให้แต่ละประเทศใน AEC ให้มีจุดเด่นต่างๆดังนี้
พม่า : สาขาเกษตรและประมง
มาเลเซีย : สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
อินโดนีเซีย : สาขาภาพยนต์และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
ฟิลิปปินส์ : สาขาอิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ : สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
ไทย : สาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน (ประเทศไทยอยู่ตรงกลาง ASEAN)
สำหรับนักธุรกิจไทยควรทำความเข้าใจและปรับตัวไห้เข้ากับ AEC เพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างทันเวลา

ที่สุดในประเทศไทย

จังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุด
จังหวัดเชียงใหม่ 22,848,421 ตารางกิโลเมตร
จังหวัดที่มีพื้นที่น้อยที่สุด
จังหวัดสมุทรสงคราม 431,801 ตารางกิโลเมตร
ยอดเขาสูงที่สุด
ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากที่สุด
จังหวัดเชียงราย 2,575 เมตร หรือ 8,450 ฟุต
แม่น้ำที่ยาวที่สุด
แม่น้ำมูล ยาว 673 กิโลเมตร
ส่วนที่ยาวที่สุดของไทยจากเหนือสุด
อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ถึงใต้สุด คืออำเภอเบตง จังหวัดยะลา ระยะทาง 1,620 กิโลเมตร
ส่วนที่กว้างที่สุดของไทยจากตะวันออก
ตำลบช่องแม็ก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ถึงตะวันตก คือ ด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ระยะทาง 750 กิโลเมตร
ส่วนที่แคบที่สุดของแผ่นดินไทย
ที่ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบฯ กว้างเพียง 10.6 กิโลเมตร
บริเวณที่แคบที่สุดของคาบสมุทรภาคใต้
คอคอดกระ อยู่ที่จังหวัดระนอง กว้าง 50-80 กิโลเมตร
เทือกเขาที่ยาวที่สุด
เทือกเขาตะนาวศรี ยาวประมาณ 834 กิโลเมตร สูงประมาณ 1,500 เมตร
บริเวณที่ฝนตกชุกที่สุด
จังหวัดระนอง ฝนตกเฉลี่ยปีละประมาณ 5,106.3 มิลลิเมตร
บริเวณที่ฝนตกน้อยที่สุด
จังหวัดตาก ฝนตกเฉลี่ยปีละประมาณ 951.1 มิลลิเมตร
ทางรถไฟสายที่ยาวที่สุด
ทางรถไฟสายใต้ จากสถานีธนบุรี ถึงสุไหงโก-ลก ยาว 1,144 กิโลเมตร
ทางหลาวแผ่นดินสายที่ยาวที่สุด
ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม เริ่มจากกรุงเทพฯ ถึงคลองพรวน ระยะทาง 1,352 กิโลเมตร
พระนอนที่ยาวที่สุด
พระนอนวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) กรุงเทพฯ ยาว 46 เมตร
พระพุทธยืนที่สูงที่สุด
หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กรุงเทพฯ
พระพุทธรูปปางสมาธิที่ใหญ่ที่สุด
พระพุทธโคดม วัดไผ่โรงวัว จังหวัดสุพรรณบุรี
พระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุด
พระสุโขทัยไตรมิตร วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพฯ คิดเป็นทองคำหนัก 5 ตันครึ่ง หรือ 25,000 ปอนด์
เจดีย์ที่สูงที่สุด
พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม สูง 3 เส้น 1 คืบ 6 นิ้ว
สะพานที่ยาวที่สุด
สะพานติณสูลานนท์ จังหวัดสงขลา ยาว 2,950 เมตร
พันธุ์ปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ปลาบึก พบในแม่น้ำโขง
วัดที่มีเจดีย์มากที่สุด
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) กรุงเทพฯ
นายกรัฐนมตรีที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุด
จอมพล ป. พิบูลสงคราม 14 ปี 11 เดือน 18 วัน
น้ำตกที่สูงที่สุด
น้ำตกสาริกา จังหวัดนครนายก
ระฆังที่ใหญ่ที่สุด
ระฆังวัดกัลยาณมิตร เขตธนบุรี กรุงเทพฯ
เกาะที่ใหญ่ที่สุด
เกาะภูเก็ต พื้นที่ประมาณ 538,720 กิโลเมตร


เริ่มแรกมีรถเมล์ในประเทศไทย

ปี พ.ศ. 2428 ประเทศไทยมีรถเทียมม้า ซึ่งเรียกกันว่า “รถเมล์” และวิ่งตามเส้นทางเรือเมล์ที่มีอยู่ก่อนแล้ว แต่ให้บริการอยู่ประมาณ 2 ปี จึงเลิกกิจการเนื่องจากมีการนำรถรางเข้ามาใช้แล้ว
ปี พ.ศ. 2450 พระยาภักดีนรเศรษฐ หรือ นายเลิศ เศรษญบุตร เริ่มกิจการรถเมล์ขึ้นอีกครั้ง ให้บริการระหว่าง สะพานยศเส (สะพานกษัตริย์ศึก) กับตลาดประตูน้ำ ซึ่งเป็นต้นทางเรือเมล์ของนายเลิศในคลองแสนแสบด้วย เส้นทางนี้ยังไม่มีรถราง กิจการรถเมล์จึงไปได้ดี
ปี พ.ศ. 2456 นายเลิศนำรถยี่ห้อฟอร์ดเข้ามาให้บริการ และขยายเส้นทางไปถึงบางลำพู ย่านการค้าที่สำคัญของยุคนั้น ขนาดของรถใกล้เคียงกับรถม้า มี 3 ล้อ มีที่นั่งเป็นม้ายาว 2 แถว และนั่งได้ประมาณ 10 คน ขณะวิ่งจะมีเสียงโกร่งกร่าง ผู้คนจึงเรียกกันว่า “อ้ายโกร่ง” แต่บางคนเรียกว่า “รถเมล์ขาวนายเลิศ” เนื่องจากตัวรถมีสีขาว และมีเครื่องหมายกากบาทสีแดงในวงกลม
ด้วยนโยบาย “สุภาพ ซื่อสัตย์ ประหยัด ทันใจ เอากำไรน้อย บริการผู้มีรายได้น้อย” ทำให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น กิจการก็เติบโตขึ้นด้วย จึงมีการพัฒนาเป็นรถ 4 ล้อ ที่ออกแบบขึ้นเอง มีที่นั่ง 2 แถวด้านข้าง ขยายเส้นทางออกไปอีกหลายสาย และมีผู้ประกอบการรายอื่นเพิ่มขึ้นมา รวมแล้วประมาณ 30 ราย ให้บริการไปทั่วกรุงเทพฯ ตัวรถเมล์มีทั้งสีแดง เหลือง และเขียว
ปี พ.ศ. 2497 เริ่มมีการจัดระเบียบรถเมล์ โดยรัฐบาลออก พ.ร.บ. ขนส่ง ควบคุมให้ผู้ประกอบการต้องขอใบอนุญาตก่อนทำกิจการรถเมล์
ปี พ.ศ. 2518 รัฐบาลสมัยของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช (หม่อมน้อง) ให้รวมกิจการรถเมล์ในกรุงเทพฯ เป็นบริษัทเดียวกัน คือ บริษัทมหานครขนส่ง จำกัด ซึ่งอยู่รูปแบบของรัฐวิสาหกิจ โดยรัฐและเอกชนถือหุ้นพอๆ กัน ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2519 รัฐบาลสมัยของ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช (หม่อมพี่) ได้ออกพระราชกฤษฎีการวมกิจการของ บริษัทมหานครขนส่ง จำกัด เข้ากับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม
กิจการรถเมล์ขาวนายเลิศ ที่ดำเนินการมาเป็นเวลา 70 ปี ในขณะนั้นได้รับสัมปทานเดินรถ 36 สาย มีจำนวนรถ 700 คัน และมีพนักงานถึง 3,500 คน จึงเลิกกิจการไปในปี พ.ศ. 2520 โดยอู่รถเมล์ขาวนายเลิศเดิม ได้กลายเป็นสถานที่ตั้งของโรงแรมปาร์คนายเลิศ ณ ถนนวิทยุ ในปัจจุบันนั่นเอง

ดูโทรทัศน์มาก อาจทำให้เสียชีวิตได้ง่าย

ผลวิจัยโดย David Dunstan นักวิจัยชาวออสเตรเลีย จากสถาบัน Baker IDI Heart and Diabetes ในเมลเบิร์น (Melbourne) ที่สำรวจจากชายหญิง ที่มีสุขภาพดีอายุ 25 ปีขึ้นไป จำนวน 8,800 คน เป็นเวลา 6 ปี
พบว่า 80% ของผู้ที่ดูโทรทัศน์มากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน มีแนวโน้มเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด มากกว่าผู้ที่ดูโทรทัศน์น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน และในการดูโทรทัศน์ที่เพิ่มขึ้นทุก 1 ชั่วโมง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดถึง 18%
เนื่องจากการทำกิจกรรมที่นั่งเฉยๆ เช่น ดูโทรทัศน์นานๆ ทำให้พวกเราไม่ขยับตัวเป็นเวลานาน ทำให้กระบวนการเผาผลาญในร่างกายช้าลง และส่งผลให้เกิดการเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
คำแนะนำสำหรับกรณีนี้ คือ หลีกเลี่ยงการการนั่งเป็นเวลานาน เปลี่ยนอิริยาบท ขยับร่างกายในส่วนที่ไม่ค่อยได้ขยับบ้าง หรือในขณะชมโทรทัศน์ควรทำกิจกรรมอื่นที่ได้ขยับตัวบ้าง เช่น พับเสื้อผ้าที่ซักแล้ว หรือเปลี่ยนช่องโทรทัศน์ด้วยการลุกเดินไปกดเองแทนการใช้รีโมท

งานนั่งโต๊ะ เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก

รายงานผลวิจัยจาก British Journal of Cancer ที่ทำการศึกษากับผู้ชาย 45,000 คน ซึ่งมีอายุ 45-79 ปี พบว่า.. ผู้ชายที่ทำงานนั่งโต๊ะทั้งวัน มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก มากกว่าผู้ชายที่ทำงานนั่งโต๊ะทั้งวันครึ่งวัน 20% และผู้ชายที่ทำงานนั่งโต๊ะนั้น มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก มากกว่าผู้ชายที่ไม่ได้ทำงานนั่งโต๊ะถึง 28%
รูปแบบของการออกกำลังกายนั้นก็มีผล โดยผู้ชายที่เดิน หรือปั่นจักรยานน้อยกว่า 40 นาทีต่อวัน มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าผู้ชายที่เดิน หรือปั่นจักรยานน้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวันอยู่ 14%
แต่ไม่แน่นอนเสมอไปที่การออกกำลังจะสามารถป้องกันมะเร็งได้ เนื่องจากนักวิจัยจากสถาบัน Karolinska ในสวีเดน สันนิษฐานว่าเป็นเพราะระดับฮอร์โมนเพศชายที่หลั่งออกมา งานวิจัยก่อนหน้านี้บางชิ้น ก็พบว่า การทานผักผลไม้นั้น ช่วยลดความเสี่ยงของโรคได้
ดังนั้น การลดความเสี่ยงมะเร็งต่อลูกหมาก ที่ Dr. Helen Rippon จากองค์กรการกุศลเกี่ยวกับมะเร็งต่อมลูกหมากแนะนำ คือ ไม่นั่งทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน
เดิน หรือขี่จักรยาน (ออกกำลังกาย) หรือขยับตัวไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน แต่ไม่จำเป็นต้องเล่นกีฬาอย่างเอาเป็นเอาตายในโรงยิม จะเป็นผลดีต่อร่างกายแน่นอน

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เด็กไทยน่าเป็นห่วง!! ม.1 เริ่มอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้


 แต่ข้อมูลที่ทำเอาช็อคและสะเทือนใจมากที่สุดต้องบอกว่าเกี่ยวกับน้องๆ นักเรียนโดยตรงเลยค่ะ นั่นก็คือผลวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาไทย ไม่ว่าจะเป็นผลทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ผลทดสอบระดับนานาชาติ ที่คะแนนออกมาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เช่น ผลการสอบ O-NET ทั้ง 8 วิชา เมื่อปี 2555 ที่ผ่านมา ระดับชั้น ป.6 ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 50 คะแนนถึง 5 วิชา ส่วน ม.3 ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 50 คะแนน ถึง 6 วิชา และระดับชั้น ม.6 สูงที่สุดคือต่ำกว่าเกณฑ์ถึง 7 วิชา นอกจากนี้ผลคะแนน Pisa ซึ่งเป็นการสอบประเมินระดับนานาชาติเพื่อวัดระดับความสามารถการเรียนรู้ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยก็อยู่รั้งท้ายอีกเช่นกัน

             ยังไม่หมดนะคะน้องๆ นี่เป็นเพียงการประเมินส่วนหนึ่งด้วยการสอบเท่านั้น หากมองย้อนกลับมามองความจริงเรื่องการศึกษาของไทยเราจะพบว่าปัญหาที่หนักกว่าผลสอบยังมีอีกมาก หนึ่งในปัญหาเหล่านั้นก็คือ เด็กไทยเริ่มอ่านเขียนภาษาไทยไม่ออกเพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่แค่ประถมศึกษาเท่านั้นนะคะ แต่ยังลามไปถึงระดับมัธยมศึกษาแล้ว โดยเฉพาะ ม.1 ที่เพิ่งเข้ามาเรียนใหม่ นอกจากนี้ยังพบว่าพฤติกรรมด้านการเรียนเปลี่ยนไป คือ ไม่ชอบเขียนบทความยาวๆ และไม่ชอบอ่านหนังสือ!!

             พอพูดถึงประเด็นที่เด็กไทยไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือ พี่มิ้นท์เลยหาข้อมูลต่อ พบว่าจากเดิมที่เคยมีสถิติพูดกรอกหูกันว่าคนไทยอ่านหนังสือปีละไม่เกิน 8 บรรทัด ตอนนี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว คือ เพิ่มเป็นอ่านเฉลี่ยปีละ 2-5 เล่ม(ข้อมูลจากสำนักสถิติแห่งชาติ) น้องๆ อาจจะมองว่านี่ก็เพิ่มขึ้นมาตั้งเยอะแล้ว ใครที่คิดแบบนี้ได้เวลามองโลกมุมใหม่แล้วนะ เพราะหลายๆ ชาติอาเซียนสร้างสถิติชวนให้คนไทยห่อเหี่ยวใจจริงๆ ในขณะที่เด็กไทยอ่านปีละ 2-5 เล่ม เยาวชนสิงคโปร์อ่านเฉลี่ยคนละ 50-60 เล่มต่อปี และเวียดนามอ่านเฉลี่ย 60 เล่มต่อปี เป็นตัวเลขที่สะท้อนคุณภาพของคนในชาติได้เป็นอย่างดี และเป็นคำถามที่น่าคิดมาตลอดว่าเพราะอะไร เด็กไทยถึงอ่านหนังสือน้อย ไม่รักการอ่าน? ไม่มีแรงจูงใจในการอ่าน? ไม่มีการส่งเสริมการอ่านกันอย่างจริงจัง หรือเด็กไทยไม่เห็นความสำคัญของการอ่านกันแน่
เด็กดีดอทคอม :: เด็กไทยน่าเป็นห่วง!!  ม.1 เริ่มอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
Read Singapore เป็นโครงการส่งเสริมการอ่านของประเทศสิงคโปร์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก
           ถ้าพูดถึงเรื่องการส่งเสริมการอ่าน หลายประเทศทั่วโลกรณรงค์ให้คนในประเทศรักการอ่านตั้งแต่เด็ก อย่างประเทศสหรัฐอเมริกาเองส่งเสริมการอ่านจนกระทั่งอัตราคนที่อ่านออกเขียนได้ในประเทศเฉลี่ยสูงถึง 98% เลยทีเดียว ในแถบๆ อาเซียนอย่างมาเลเซียก็มีแผนส่งเสริมการอ่านที่น่าสนใจคือ ทำมุมพิเศษเพื่อจัดวางหนังสือบนรถไฟโดยสารและตามสถานีต่างๆ ส่วนสิงคโปร์ขึ้นชื่อว่าให้ความสำคัญกับการอ่านอยู่แล้ว ก็มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่อง ทั้งห้องสมุดเคลื่อนที่ การสร้างชมรมนักอ่าน ทูตกิจกรรมการอ่าน เป็นต้น เห็นความตั้งใจของการส่งเสริมการอ่านในแต่ละประเทศแล้วก็ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมประเทศเหล่านั้นถึงพัฒนาอย่างรวดเร็ว
           เห็นศักยภาพของประเทศเหล่านั้นแล้วก็ได้แต่หวังว่าประเทศไทยจะส่งเสริมการอ่านอย่างจริงจังบ้าง ยิ่งในปี 2556 นี้ กรุงเทพมหานครได้รับคัดเลือกให้เป็นเมืองหนังสือโลก  (World Book Capital) ด้วย น่าจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการอ่านและการเรียนรู้เพิ่มเติมได้ และหวังว่าสถิติครั้งต่อไปเด็กไทยจะอ่านหนังสือได้หลักสิบเล่มกับเขาบ้าง ^^
เด็กดีดอทคอม :: เด็กไทยน่าเป็นห่วง!!  ม.1 เริ่มอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
           ปิดท้ายพี่มิ้นท์มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับข้อเสนอแนะวิธีการรณรงค์ให้คนรักการอ่านหนังสือ จากการสำรวจการอ่านหนังสือของประชากรปี 2554 สำนักงานสถิติแห่งชาติ สอบถามจากประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีเป็นต้นไป โดยข้อเสนอแนะการรณรงค์ 10 อันดับ มีดังนี้

          1. หนังสือควรมีราคาถูกลง  31%
          2. หนังสือควรมีเนื้อหาสาระน่าสนใจ 21.5%
          3. ควรมีห้องสมุดประจำหมู่บ้าน/ชุมชน 20.2%
          4. ส่งเสริมให้พ่อแม่ปลูกฝังให้เด็กรักการอ่านหนังสือ 17.6%
          5. รูปเล่มกะทัดรัด/ ปกสวยงามน่าอ่าน/ มีรูปภาพประกอบ 13.1%
          6.  ควรใช้ภาษาง่ายๆ ทุกคนสามารถเข้าใจ 13%
          7. หาซื้อได้ง่าย 12%
          8. จัดโครงการรณรงค์ร่วมกันอ่านหนังสือทั้งครอบครัว 10.04%
          9. โรงเรียนควรมีมาตรการให้นักเรียนอ่านหนังสือนอกเวลาอย่างจริงจัง 9.2%
        10. จัดให้มีมุมอ่านหนังสือ/ ห้องสมุดเคลื่อนที่ในย่านชุมชน/ ศูนย์การค้า 6.5%

10 ความเสี่ยง ถูก Social Network ทำร้ายโดยไม่รู้ตัว 


เสี่ยง! กับกิจกรรมแน่นิ่ง

เฉลี่ยแล้วเราใช้เวลาไปกับการนั่งนิ่งหน้าจอทีวี จอคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่จอโทรศัพท์มือถือ มากกว่า 13 ชั่วโมงต่อวันในวันหยุด ถึงแม้นี่จะเป็นค่าเฉลี่ยของคนไทย แต่จะเถียงมั้ยว่า ทุกวันนี้ แม้เป็นวันธรรมดาที่ต้องไปเรียนหรือไปทำงาน น้องๆ ก็ใช้เวลากับกิจกรรมแน่นิ่งไปไม่น้อยเลย ...ไม่เชื่อลองนับดู!

กิจกรรมแน่นิ่งเหล่านี้ ทำร้ายเราอย่างไร?

  • โรคอ้วน หรือขาดสารอาหาร
  • จอประสาทตาเสื่อม หรือสายตาสั้น
  • เครียด สุขภาพจิตไม่ดี
  • อดนอนเรื้อรัง และร่างกายอ่อนเพลีย
  • เสียโอกาสในการเข้าสังคม พบปะผู้อื่น
  • เสียเวลา กระทบต่อการเรียนและการทำงาน

เสี่ยง! เสื่อมเสียชื่อเสียงและหมดอนาคต

เรียกว่าเป็นอีก Step ของความดัง ทุกวันนี้ หลายคนต้องการยอด Like ไปสร้างชื่อเสียง มีหลากหลายวิธีที่จะทำให้น้องๆ เป็นที่รู้จักในโลกออนไลน์ แต่เชื่อหรือไม่ วิธีที่หลายคนใช้อยู่นั้นไม่เหมาะสม!”
บน Social Network เรามักคิดว่า จะทำอะไรก็ได้ ไม่ต้องแคร์ใคร แล้ว ในความเป็นจริง ทุกๆ สิ่งที่เราทำ เราโพสต์ เราแชร์ หรือแม้แต่แสดงความคิดเห็นนั้น ย่อมส่งผลถึงอนาคตโดยตรงถึงตัวเรา... ความเสี่ยงที่ว่านี้ก็คือ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาท นั่นเอง

ประมาทในโลกออนไลน์ ทำร้ายเราอย่างไร?

  • ถูกหลอก เสียทรัพย์ เพราะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากไป
  • ตกงานและถูกพักการเรียน เพราะโพสต์รูปและข้อความไม่เหมาะสม
  • ผิดกฎหมาย เพราะความคึกคะนอง
  • ถูกล่วงละเมิดทางเพศ และกระทำอนาจาร
  • เสื่อมเสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูล มีผลกระทบต่อครอบครัว

เสี่ยง! เจ็บตัวและเจ็บใจ

ทุกวันนี้ จะทำอะไร ไปไหน กินอะไร ก็ต้องถ่ายรูป ต้องอัพ ต้องแชร์ตลอด บางคนอัพเดทการแต่งตัวทุกวัน บางคนก็รายงานสดชีวิตส่วนตัวทุกชั่วโมง บางคนก็หอบทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตแถมเสียบสายหูฟังพันกันนัวเนีย และที่หนักที่สุดที่ทำเอาหลายคนเงยหน้าไม่ขึ้นคือ “การแชท” เพราะมันทั้งแซ่บทั้งมันติดพันตลอดเวลา ...ทั้งหมดนี้ ยิ่งทำให้เราเสี่ยงกันมากขึ้น

ติดอุปกรณ์ไอที ทำร้ายเราอย่างไร?

  • ขาดการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
  • พลาดการแจ้งเตือนหรือประกาศสำคัญ เพราะมัวใส่หูฟัง
  • มีอาการหูดับจากการฟังเพลงเสียงดัง
  • ประสบอุบัติเหตุเล็กน้อยพอได้อับอาย
  • พิการหรืออันตรายถึงแก่ชีวิต โดยมากพบในผู้ที่ใช้รถใช้ถนน

วัฒนธรรมต่างประเทศ

รวมภาพร้านหนังสือสวยๆ จากทั่วโลก!! คนรักหนังสือห้ามพลาด



 เมืองบัวโนไอเรส ประเทศอาร์เจนติน่า

ร้านหนังสือสุดอลังการแห่งนี้อยู่ไกลสักหน่อย เพราะอยู่ถึงทวีปอเมริกาใต้โน่นแน่ะ หรูหราขนาดนี้ แน่นอนว่าเป็นร้านหนังสือที่ดังและสวยที่สุดของประเทศเลยล่ะค่ะ โดยในตอนแรกนั้นถูกสร้างมาเป็นโรงละครซึ่งมีที่นั่งทั้งหมด 1,050 ที่ ใช้โชว์การแสดงที่หลากหลาย จนในปี 2000 ได้ยกสถานที่นี้ให้ผู้อื่นเช่าและเปิดเป็นร้านหนังสือของสำนักพิมพ์ที่มีชื่อว่า El Ateneo แทน ในแต่ละปีมีลูกค้าและคนเข้ามาชมร้านหนังสือแห่งนี้เกิน 1 ล้านคนทีเดียว! กลายเป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดไปซะแล้ว

















เมืองมาสทริชท์ ประเทศเนเธอร์แลนด์

Selexyz เป็นร้านหนังสือที่มีสาขาทั้งหมด 16 สาขาในเนเธอร์แลนด์ แต่สำหรับร้าน  Selexyz สาขาเมืองมาสทริชท์นั้น อดีตคือโบสถ์โดมินิกันที่มีอายุกว่า 700 ปี จึงไม่น่าแปลกใจที่ให้อารมณ์ขลังอย่างมาก โดยผู้ที่ปรับปรุงโบสถ์ให้กลายเป็นร้านหนังสือคือสถาปนิกชาวดัตช์ชื่อดังอย่าง Merkx+Girod ซึ่งชนะการประกวดออกแบบภายในมาแล้วหลายเวที โดยได้เลือกเหล็กสีดำที่ดูทันสมัยและเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งที่ดูอินเทรนด์มาเปลี่ยนแปลงโบสถ์ให้กลายเป็นร้านหนังสือที่ดูคลาสสิก ส่วนโคมไฟต่างๆ ภายในร้านหนังสือนั้น จะให้อารมณ์เหมือนกำลังจุดเทียนอยู่ในโบสถ์เก่าย้อนยุคนั่นเอง


















เมืองบราทิสลาวา ประเทศสโลวาเกีย

สำหรับร้านนี้เป็นร้านหนังสือเล็กๆ 2 ชั้น ที่พยายามค้นหาไอเดียว่า ร้านหนังสือเล็กๆ จะสร้างบรรยากาศที่ดีให้ลูกค้าได้ยังไง? และในที่สุดก็ออกมาเป็นร้านหนังสือที่มีทางเดินโล่งๆ เพื่อให้ดูโล่งและกว้าง ทำให้ร้านเล็กๆ กลายเป็นร้านที่ดูใหญ่โออ่าขึ้น โดยจะคัดหนังสือออกใหม่และหนังสือขายดีมาตั้งไว้ตรงกลางทางเดิน ส่วนชั้นล่างเป็นคาเฟ่เล็กๆ มีกาแฟไว้บริการ
















เมืองปอร์โต ประเทศโปรตุเกส

ถือเป็นร้านหนังสือแห่งหนึ่งที่เก่าแก่มากที่สุดของโปรตุเกส เพราะแม้แต่เว็บไซต์ท่องเที่ยวชื่อดังอย่าง Lonely Planet ยังนับให้ร้านหนังสือนี้เป็นร้านหนังสือที่เก่าแก่อันดับ 3 ของโลก (ท่าทางจะเก่าจริงแฮะ) ในปี 1869 ที่แห่งนี้ถูกสร้างเป็นบริษัทธุรกิจ แต่เจ้าของกิจการดันมาเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ตึกจึงถูกขายต่อไปในปี 1894 และกลายเป็นร้านหนังสือ Livraria Lello โดยได้ถูกออกแบบใหม่เป็นแนวนีโอโกธิค ด้านในมีบันไดสีแดงเชื่อมไปยังชั้นสอง และนอกจากจะมีขายหนังสือภาษาโปรตุเกสแล้ว ยังมีหนังสือภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสขายอยู่ด้วยไม่น้อย

















เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์

Mendo เป็นร้านหนังสือที่ถูกตกแต่งในสไตล์เท่ๆ อาร์ตๆ ดูไม่เยอะ และไม่หวือหวา แน่นอนว่าที่นี่เน้นขายหนังสือแนวอาร์ตๆ ในคอนเซ็ปต์ 'creative books' เหมือนกับสภาพร้านเด๊ะ นั่นก็คือหนังสือจำพวกแฟชั่นดีไซน์ การถ่ายภาพ สถาปัตย์ การออกแบบภายใน กราฟิกดีไซน์นอกจากนี้ในร้านยังมีหนังสือปกแข็งสีดำ เล่มหนาๆ ที่หน้าปกเขียนว่า MENDO อีกประมาณ 2 พันเล่ม ซึ่งที่จริงแล้วภายในเป็นหน้ากระดาษเปล่าๆ ไม่ได้เป็นหนังสืออะไร แต่ที่ถูกทำและนำมาตั้งไว้ก็เพื่อให้หนังสือเล่มอื่นๆ ดูเด่นขึ้นมานั่นเอง ว้าวววว ดังนั้นใครเป็นเด็กอาร์ตและมีโอกาสไปเยือนอัมสเตอร์ดัม ห้ามพลาดที่นี่เด็ดขาด!
















 เมืองโอไฮ รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

ถ้าถามว่าเป็นร้านหนังสือที่สวยมั้ย? ก็ไม่ได้ถึงกับหรูหราอะไรนัก แต่มีดีตรง "ความเก๋" เพราะเป็นร้านหนังสือแบบ Outdoor หรือเปิดโล่งที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกา ก่อตั้งโดยริชาร์ด บาร์ตินส์เดล ในปี 1964 ร้านเปิดทุกวันจนถึง 3 ทุ่มครึ่ง แต่หากเลยเวลานี้แล้วใครเกิดอยากหนังสือตอนดึกๆ ก็สามารถมาได้ โดยจะมีกล่องให้หยอดเงินค่าหนังสือตั้งไว้ งานนี้ต้องอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจกันล้วนๆ ล่ะ วันไหนอากาศดีๆ ไม่หนาวไม่ร้อนเกินไป จะมีร้านหนังสือแห่งใดเหมาะเท่ากับร้านนี้อีกล่ะ!

















เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา

เห็นหรูขนาดนี้ แน่นอนว่าแต่เดิมไม่ได้เป็นร้านหนังสือค่ะ เพราะแต่เดิมเป็นโรงละครชื่อ Chapters Runnymede  ซึ่งเป็นโรงละครชื่อดังประจำเมืองมาก่อน จนในปี 1999 ได้ถูกเปลี่ยนเป็นร้านหนังสือแทนปัจจุบันถือเป็นร้านหนังสือประจำเมืองและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของเมืองโตรอนโตไปแล้ว สำหรับเวลาทำการนั้นเปิดทุกวันตั้งแต่เช้าจนถึง 3 ทุ่ม