วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

AEC คืออะไร เกี่ยวข้องกับประเทศไทยอย่างไร

AEC ย่อมาจาก  Asean Economics Community แปลว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ  การรวมตัวกันของชาติใน Asean ทั้ง 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม,กัมพูชา , สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, บรูไน เพื่อจะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งจะมีรูปแบบคล้ายๆ กับกลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจการต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากยิ่งขึ้น และในการนำเข้า – ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะมีความเสรี  ซึ่งอาจจะยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอสงวนไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า ซึ่งเรียกสินค้าชนิดนี้ว่า  สินค้าอ่อนไหว
Asean นั้น จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลอย่างจริงจัง  ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคแถบนี้เปลี่ยนไปอย่างมากอย่างที่เราคาดไม่ถึงเลยทีเดียว
AEC Blueprint (แบบพิมพ์เขียว) หรือแนวทางที่ต้องการจะให้ AEC เป็นไปคือ
1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
โดยให้แต่ละประเทศใน AEC ให้มีจุดเด่นต่างๆดังนี้
พม่า : สาขาเกษตรและประมง
มาเลเซีย : สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
อินโดนีเซีย : สาขาภาพยนต์และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
ฟิลิปปินส์ : สาขาอิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ : สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
ไทย : สาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน (ประเทศไทยอยู่ตรงกลาง ASEAN)
สำหรับนักธุรกิจไทยควรทำความเข้าใจและปรับตัวไห้เข้ากับ AEC เพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างทันเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น