เด็กไทยน่าเป็นห่วง!! ม.1 เริ่มอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
แต่ข้อมูลที่ทำเอาช็อคและสะเทือนใจมากที่สุดต้องบอกว่าเกี่ยวกับน้องๆ นักเรียนโดยตรงเลยค่ะ นั่นก็คือผลวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาไทย ไม่ว่าจะเป็นผลทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ผลทดสอบระดับนานาชาติ ที่คะแนนออกมาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เช่น ผลการสอบ O-NET ทั้ง 8 วิชา เมื่อปี 2555 ที่ผ่านมา ระดับชั้น ป.6 ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 50 คะแนนถึง 5 วิชา ส่วน ม.3 ค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 50 คะแนน ถึง 6 วิชา และระดับชั้น ม.6 สูงที่สุดคือต่ำกว่าเกณฑ์ถึง 7 วิชา นอกจากนี้ผลคะแนน Pisa ซึ่งเป็นการสอบประเมินระดับนานาชาติเพื่อวัดระดับความสามารถการเรียนรู้ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของเด็กไทยก็อยู่รั้งท้ายอีกเช่นกัน
ยังไม่หมดนะคะน้องๆ นี่เป็นเพียงการประเมินส่วนหนึ่งด้วยการสอบเท่านั้น หากมองย้อนกลับมามองความจริงเรื่องการศึกษาของไทยเราจะพบว่าปัญหาที่หนักกว่าผลสอบยังมีอีกมาก หนึ่งในปัญหาเหล่านั้นก็คือ เด็กไทยเริ่มอ่านเขียนภาษาไทยไม่ออกเพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่แค่ประถมศึกษาเท่านั้นนะคะ แต่ยังลามไปถึงระดับมัธยมศึกษาแล้ว โดยเฉพาะ ม.1 ที่เพิ่งเข้ามาเรียนใหม่ นอกจากนี้ยังพบว่าพฤติกรรมด้านการเรียนเปลี่ยนไป คือ ไม่ชอบเขียนบทความยาวๆ และไม่ชอบอ่านหนังสือ!!
พอพูดถึงประเด็นที่เด็กไทยไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือ พี่มิ้นท์เลยหาข้อมูลต่อ พบว่าจากเดิมที่เคยมีสถิติพูดกรอกหูกันว่าคนไทยอ่านหนังสือปีละไม่เกิน 8 บรรทัด ตอนนี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว คือ เพิ่มเป็นอ่านเฉลี่ยปีละ 2-5 เล่ม(ข้อมูลจากสำนักสถิติแห่งชาติ) น้องๆ อาจจะมองว่านี่ก็เพิ่มขึ้นมาตั้งเยอะแล้ว ใครที่คิดแบบนี้ได้เวลามองโลกมุมใหม่แล้วนะ เพราะหลายๆ ชาติอาเซียนสร้างสถิติชวนให้คนไทยห่อเหี่ยวใจจริงๆ ในขณะที่เด็กไทยอ่านปีละ 2-5 เล่ม เยาวชนสิงคโปร์อ่านเฉลี่ยคนละ 50-60 เล่มต่อปี และเวียดนามอ่านเฉลี่ย 60 เล่มต่อปี เป็นตัวเลขที่สะท้อนคุณภาพของคนในชาติได้เป็นอย่างดี และเป็นคำถามที่น่าคิดมาตลอดว่าเพราะอะไร เด็กไทยถึงอ่านหนังสือน้อย ไม่รักการอ่าน? ไม่มีแรงจูงใจในการอ่าน? ไม่มีการส่งเสริมการอ่านกันอย่างจริงจัง หรือเด็กไทยไม่เห็นความสำคัญของการอ่านกันแน่
ยังไม่หมดนะคะน้องๆ นี่เป็นเพียงการประเมินส่วนหนึ่งด้วยการสอบเท่านั้น หากมองย้อนกลับมามองความจริงเรื่องการศึกษาของไทยเราจะพบว่าปัญหาที่หนักกว่าผลสอบยังมีอีกมาก หนึ่งในปัญหาเหล่านั้นก็คือ เด็กไทยเริ่มอ่านเขียนภาษาไทยไม่ออกเพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่แค่ประถมศึกษาเท่านั้นนะคะ แต่ยังลามไปถึงระดับมัธยมศึกษาแล้ว โดยเฉพาะ ม.1 ที่เพิ่งเข้ามาเรียนใหม่ นอกจากนี้ยังพบว่าพฤติกรรมด้านการเรียนเปลี่ยนไป คือ ไม่ชอบเขียนบทความยาวๆ และไม่ชอบอ่านหนังสือ!!
พอพูดถึงประเด็นที่เด็กไทยไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือ พี่มิ้นท์เลยหาข้อมูลต่อ พบว่าจากเดิมที่เคยมีสถิติพูดกรอกหูกันว่าคนไทยอ่านหนังสือปีละไม่เกิน 8 บรรทัด ตอนนี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว คือ เพิ่มเป็นอ่านเฉลี่ยปีละ 2-5 เล่ม(ข้อมูลจากสำนักสถิติแห่งชาติ) น้องๆ อาจจะมองว่านี่ก็เพิ่มขึ้นมาตั้งเยอะแล้ว ใครที่คิดแบบนี้ได้เวลามองโลกมุมใหม่แล้วนะ เพราะหลายๆ ชาติอาเซียนสร้างสถิติชวนให้คนไทยห่อเหี่ยวใจจริงๆ ในขณะที่เด็กไทยอ่านปีละ 2-5 เล่ม เยาวชนสิงคโปร์อ่านเฉลี่ยคนละ 50-60 เล่มต่อปี และเวียดนามอ่านเฉลี่ย 60 เล่มต่อปี เป็นตัวเลขที่สะท้อนคุณภาพของคนในชาติได้เป็นอย่างดี และเป็นคำถามที่น่าคิดมาตลอดว่าเพราะอะไร เด็กไทยถึงอ่านหนังสือน้อย ไม่รักการอ่าน? ไม่มีแรงจูงใจในการอ่าน? ไม่มีการส่งเสริมการอ่านกันอย่างจริงจัง หรือเด็กไทยไม่เห็นความสำคัญของการอ่านกันแน่
ถ้าพูดถึงเรื่องการส่งเสริมการอ่าน หลายประเทศทั่วโลกรณรงค์ให้คนในประเทศรักการอ่านตั้งแต่เด็ก อย่างประเทศสหรัฐอเมริกาเองส่งเสริมการอ่านจนกระทั่งอัตราคนที่อ่านออกเขียนได้ในประเทศเฉลี่ยสูงถึง 98% เลยทีเดียว ในแถบๆ อาเซียนอย่างมาเลเซียก็มีแผนส่งเสริมการอ่านที่น่าสนใจคือ ทำมุมพิเศษเพื่อจัดวางหนังสือบนรถไฟโดยสารและตามสถานีต่างๆ ส่วนสิงคโปร์ขึ้นชื่อว่าให้ความสำคัญกับการอ่านอยู่แล้ว ก็มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่อง ทั้งห้องสมุดเคลื่อนที่ การสร้างชมรมนักอ่าน ทูตกิจกรรมการอ่าน เป็นต้น เห็นความตั้งใจของการส่งเสริมการอ่านในแต่ละประเทศแล้วก็ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมประเทศเหล่านั้นถึงพัฒนาอย่างรวดเร็ว
เห็นศักยภาพของประเทศเหล่านั้นแล้วก็ได้แต่หวังว่าประเทศไทยจะส่งเสริมการอ่านอย่างจริงจังบ้าง ยิ่งในปี 2556 นี้ กรุงเทพมหานครได้รับคัดเลือกให้เป็นเมืองหนังสือโลก (World Book Capital) ด้วย น่าจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการอ่านและการเรียนรู้เพิ่มเติมได้ และหวังว่าสถิติครั้งต่อไปเด็กไทยจะอ่านหนังสือได้หลักสิบเล่มกับเขาบ้าง ^^
ปิดท้ายพี่มิ้นท์มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับข้อเสนอแนะวิธีการรณรงค์ให้คนรักการอ่านหนังสือ จากการสำรวจการอ่านหนังสือของประชากรปี 2554 สำนักงานสถิติแห่งชาติ สอบถามจากประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีเป็นต้นไป โดยข้อเสนอแนะการรณรงค์ 10 อันดับ มีดังนี้
1. หนังสือควรมีราคาถูกลง 31%
2. หนังสือควรมีเนื้อหาสาระน่าสนใจ 21.5%
3. ควรมีห้องสมุดประจำหมู่บ้าน/ชุมชน 20.2%
4. ส่งเสริมให้พ่อแม่ปลูกฝังให้เด็กรักการอ่านหนังสือ 17.6%
5. รูปเล่มกะทัดรัด/ ปกสวยงามน่าอ่าน/ มีรูปภาพประกอบ 13.1%
6. ควรใช้ภาษาง่ายๆ ทุกคนสามารถเข้าใจ 13%
7. หาซื้อได้ง่าย 12%
8. จัดโครงการรณรงค์ร่วมกันอ่านหนังสือทั้งครอบครัว 10.04%
9. โรงเรียนควรมีมาตรการให้นักเรียนอ่านหนังสือนอกเวลาอย่างจริงจัง 9.2%
10. จัดให้มีมุมอ่านหนังสือ/ ห้องสมุดเคลื่อนที่ในย่านชุมชน/ ศูนย์การค้า 6.5%
1. หนังสือควรมีราคาถูกลง 31%
2. หนังสือควรมีเนื้อหาสาระน่าสนใจ 21.5%
3. ควรมีห้องสมุดประจำหมู่บ้าน/ชุมชน 20.2%
4. ส่งเสริมให้พ่อแม่ปลูกฝังให้เด็กรักการอ่านหนังสือ 17.6%
5. รูปเล่มกะทัดรัด/ ปกสวยงามน่าอ่าน/ มีรูปภาพประกอบ 13.1%
6. ควรใช้ภาษาง่ายๆ ทุกคนสามารถเข้าใจ 13%
7. หาซื้อได้ง่าย 12%
8. จัดโครงการรณรงค์ร่วมกันอ่านหนังสือทั้งครอบครัว 10.04%
9. โรงเรียนควรมีมาตรการให้นักเรียนอ่านหนังสือนอกเวลาอย่างจริงจัง 9.2%
10. จัดให้มีมุมอ่านหนังสือ/ ห้องสมุดเคลื่อนที่ในย่านชุมชน/ ศูนย์การค้า 6.5%